วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบของฐานข้อมูล

   รูปแบบของฐานข้อมูล
     1. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (The Hierarchical Database Model)
มีลักษณะเป็นแผนภูมิต้นไม้ (Tree) ความสัมพันธ์เป็นแบบพ่อกับลูก (Parent/Child Relation) ลูกค้าแต่ละคนจะไม่สามารถได้รับบริการจากพนักงานขายมากกว่าหนึ่งคนได้ สินค้าแต่ละชนิดก็จะถูกซื้อ โดยลูกค้าเพียงคนเดียวเท่านั้น ลักษณะของฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นมีความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (one-to-one) และหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many) แต่ไม่มีความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (many-to-many)


     2 . ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (The Network Database Model)
โดยโครงสร้างของฐานข้อมูลแบบเครือข่ายก็เป็น Tree เช่นเดียวกับฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น แต่จะเป็น Tree ที่ดูซับซ้อนมากขึ้นเพื่อรองรับความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่มนั่นเอง



     3. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (The Relational Database Model)
ใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลนั้นเป็นตารางซึ่งเก็บข้อมูลที่มีลักษณะเหมือนกันไว้


     4. ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (The Object-Oriented Database Model)
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น แบบเครือข่าย และฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ล้วนจัดเก็บเฉพาะข้อมูล ไว้ในฐานข้อมูล ส่วนชุดคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินการกับฐานข้อมูลจะจัดเก็บไว้ในซอฟแวร์ระบบจัดการฐานข้อมูลแยกต่างหาก แต่ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ จัดเก็บทั้งข้อมูลและชุดคำสั่งไว้ด้วยกัน จึงสามารถใช้งานร่วมกันได้โดยอัตโนมัติ ทำให้ฐานข้อมูลชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บและจัดการ แต่มีการนำมาใช้งานน้อยกว่าฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เนื่องจากมีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่า



     5. ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ-สัมพันธ์ (The Object-Relational Database Model)
สร้างขึ้นเพื่อให้ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์สามารถเพิ่มคุณสมบัติของแบบจำลองเชิงวัตถุเข้าไปได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ในด้านการออกแบบข้อมูลใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงระบบฐานข้อมูลเดิม โดยสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาจากแบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ สามารถสร้างชนิดข้อมูลที่กำหนดเองได้

                                 ________________________________________

     6. คลังข้อมูล (Data Warehouse)
เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ของทั้งองค์กร ซึ่งแต่ละองค์กรจะต้องมีการแบ่งส่วนการทำงานออกเป็นส่วนย่อยๆ ขึ้นอยู่กับหน้าที่การทำงาน เช่น การแบ่งส่วนออกเป็นการผลิต การเงิน การตลาด การขาย การบัญชี และการบริหารงานบุคคล เป็นต้น ซึ่งในบางกรณีต้องทำสำเนาข้อมูลที่มีความจำเป็นต้องใช้งานของแต่ละส่วนมาจัดเก็บไว้ภายในส่วนการทำงานย่อยๆ เหล่านั้น



     คลังข้อมูลมีประโยชน์ในการวิเคราะห์และตัดสินใจเชิงธุรกิจ
ซึ่งต้องจะต้องอาศัยเทคนิคที่เรียกว่า “เหมืองข้อมูล (Data Mining)”
เหมืองข้อมูล เป็นเทคนิคที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลเชิงวิเคราะห์ชั้นสูง สำหรับใช้จัดการเก็บข้อมูลที่มีอยู่ในฐานข้อมูลเป็นจำนวนมาก ซึ่งประกอบไปด้วยการค้นหา แยกแยะกลุ่มข้อมูล และคัดเลือกข้อมูลที่มีคุณค่า เป็นต้น เพื่อใช้อธิบายข้อมูลในอดีตและคาดการณ์ข้อมูลในอนาคต

     7. ฐานข้อมูลแบบหลายมิติ (Multidimensional Database)
การวิเคราะห์ข้อมูลในตารางข้อมูลนั้นทำได้ยาก เช่น ต้องการหายอดรวมในฤดูหนาวทุกสายการผลิตและทุกภูมิภาค

การจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลแบบหลายมิติ

        แสดงยอดขายในฐานข้อมูลแบบหลายมิติ
การแสดงข้อมูลหลายมิติ จะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูล ยอดขายรวมทุกฤดูกาลและทุกภูมิภาคทำได้ง่ายขึ้น ด้วยวิธีการ “เฉือน (Slicing)” ลูกบาศก์ออกเป็นส่วน ๆ ตามที่ต้องการคำนวนเท่านั้น

         แสดงการ Slice ข้อมูล
         

   แสดงยอดขายในฤดูหนาวเฉพาะสายการผลิต A
                             
      8. ฐานข้อมูลบนเว็บ (Web Database)
คือ การสร้างเว็บเพจที่ผู้ใช้สามารถเลือกดูในสิ่งที่ต้องการได้ ทั้งข้อความ ภาพ และเสียง โดยการสร้างฐานข้อมูลไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการเว็บไซต์ที่ต้องการสร้างเป็นเว็บฐานข้อมูล เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นโดยใช้เว็บฐานข้อมูล สังเกตได้จากจะมีแบบฟอร์มสำหรับให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลหรือเลือกข้อมูลที่ต้องการให้แสดงผลได้เอง ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
     9. ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database)
เป็นการกระจายการจัดเก็บข้อมูลไว้ในหลาย ๆ สถานที่ ฐานข้อมูลชนิดนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่เช่น ธนาคาร และบริษัทประกันชีวิต เป็นต้น ที่มีสาขาตามที่ต่างๆ

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์

ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์




โปรแกรมตรวจสอบการใช้งานคอมพิวเตอร์



ตามปกติเมื่อซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้งาน มักจะได้ระบบปฏิบัติการมาพร้อมกับเครื่อง ซึ่งสามารถช่วยจัดการให้ผู้ใช้เรียกใช้หรือติดต่อกับเครื่องได้ทันที โดยรูปแบบของการติดต่อกับเครื่องจะขึ้นกับระบบปฏิบัติการที่ติดตั้ง และซอฟต์แวร์เสริมสภาพแวดล้อมการใช้งานซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ปรับปรุงเปลี่ยน แปลงระบบติดต่อระหว่างเครื่องกับผู้ใช้ให้ใช้ง่ายและทำงานได้รวดเร็วขึ้น aaaaaระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์ อาจแบ่งได้เป็นสามกลุ่มด้วยกัน กลุ่มพิมพ์คำสั่งเข้าไปทีละบรรทัด กลุ่มเลือกรายการเมนู และกลุ่มเลือกสัญรูป

1 กลุ่มพิมพ์คำสั่งเข้าไปทีละบรรทัด

กลุ่มพิมพ์คำสั่งเข้าไปทีละบรรทัด เป็นการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งไม่เอื้อต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์เท่าใดนัก เพราะผู้ใช้จะต้องเรียนรู้หรือจดจำคำสั่งต่าง ๆ ไว้ให้ได้เสียก่อน เช่น การเรียนใช้คำสั่งของดอส ระบบนี้ผู้ใช้จะมีความสับสนในระยะแรก เพราะจะต้องเรียนรู้คำสั่งว่าใช้งานอะไร และใช้ได้อย่างไร ซึ่งการป้อนหรือพิมพ์คำสั่งเข้าไปจะต้องพิมพ์ไม่ผิดเลย ระบบติดต่อนี้จะใช้ยากและเสียเวลาบ้างถ้าจำคำสั่งไม่ได้ แต่ถ้าใช้ไปนาน ๆ จนคุ้นเคย อาจมีข้อดีที่สามารถเรียกโปรแกรมมาทำงานได้รวดเร็วที่สุด ใช้พื้นที่หน่วยความจำน้อยและมีกำลังประมวลผลสูงกว่าระบบติดต่อกลุ่มอื่น สำหรับผู้ชำนาญการใช้คอมพิวเตอร์แล้วนิยมการใช้ระบบติดต่อกลุ่มนี้มาก เพราะทำงานได้รวดเร็วกว่ากลุ่มอื่น

2 กลุ่มเลือกรายการเมนู

กลุ่มเลือก รายการเมนู ในระบบนี้จะแสดงรายการย่อยของคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นข้อความ ตัวอักษรไม่เป็นรูปกราฟิก ผู้ใช้เพียงแต่เลื่อนตัวชี้ แถบสี หรือสัญลักษณ์ลูกศรขึ้นหรือลง รูปสัญลักษณ์อื่น ๆ ไปยังรายการที่ต้องการ แล้วกดปุ่มเลือกรายการนั้น หรืออาจใช้เมาส์เลือกรายการได้เช่นกัน ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะใช้งานได้ง่ายขึ้นไม่ต้องจดจำคำสั่ง มาก เพราะจะมีรายการคำสั่งแสดงไว้ให้เลือก ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้ใช้รายใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

3 กลุ่มเลือกสัญรูป

กลุ่มเลือกสัญรูป มีลักษณะคล้ายระบบติดต่อกลุ่มที่สองที่เป็นรายการเมนูให้เลือก เพียงแต่ว่ารายการของกลุ่มที่สามจะเป็นรูปภาพ หรือสัญรูปสำหรับเลือกโดยมีอุปกรณ์เมาส์เป็นตัวเลื่อนตัวชี้และเลือกรายการ ในบางกรณีก็อาจเป็นรายการเมนูย่อยของข้อมูลในระบบ การติดต่อระหว่างเครื่องกับผู้ใช้ในลักษณะนี้ได้รับความสนใจมาก เพราะใช้งานง่ายไม่ต้องเรียนรู้ หรือจดจำคำสั่งที่ซับซ้อน
ระบบติดต่อใช้งานในกลุ่มที่สามที่มีผู้นิยมหรือกล่าวถึงกันมาก คือ ระบบติดต่อผู้ใช้เชิงกราฟิก เรียกว่า กุย นับเป็นระบบที่แสดงรูปกราฟิกแบบบิตแมพ (bit map) ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นวินโดวส์ ดอส โอเอสทู หรือ ยูนิกส์ ต่างก็มีซอฟต์แวร์มาเสริมสภาพการใช้งานเป็นแบบกุยกันทั้งหมด

โปรแกรมประเภทกุย ส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมที่ซับซ้อนและมีขีดความสามารถสูง ดังนั้นการติดต่อหรือการเรียนรู้จึงยากกว่าปกติ แต่หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วโปรแกรมกุยจะใช้งานได้ง่าย และถ้านำไปทำงานในเครื่องความเร็วสูง ก็จะช่วยประหยัดเวลา และทำให้โปรแกรมต่าง ๆ ใช้งานง่ายขึ้น โปรแกรมประเภทกุยเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่จึงใช้พื้นที่หน่วยความจำมาก ต้องใช้ตัวประมวลผลที่มีขีดความสามารถสูง จึงจะทำงานได้ผลลักษณะเด่นของระบบติดต่อกุยเมื่อใช้กับซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการหลายภาระกิจ คือ สามารถทำหลายงานได้ในเวลาเดียวกัน โดยงานหนึ่ง ๆ จะปรากฎในช่องหน้าต่างที่เปิดขึ้นมาบนจอภาพ สามารถสลับระหว่างช่องหน้าต่างไปมา เปลี่ยนขนาดและย้ายตำแหน่งของช่องหน้าต่างและการโอนย้ายข้อมูลระหว่างช่องหน้าต่าง หรือระหว่างโปรแกรมได้ ในส่วนของผู้ที่เป็นนักเขียนโปรแกรมก็จะได้ประโยชน์ สามารถเขียนโปรแกรมประยุกต์สร้างเป็นเมนู ภาพ สัญรูป และช่องหน้าต่างแสดงข้อมูล ระบบติดต่อกุยที่มีในท้องตลาดปัจจุบัน ไม่จัดเป็นระบบกุยที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งคงยากที่จะได้ระบบที่สมบูรณ์แบบจริง ๆ เพราะต้องพิจารณาถึงขีดความสามารถ ความเร็ว และความง่ายของการใช้งานเข้ามาประกอบด้วย ระบบติดต่อกุยที่สมบูรณ์แบบควรมีองค์ประกอบ ดังนี้

1) มีระบบที่ใช้รูปกราฟิกและสัญรูป
2) มีการแสดงรายการบนจอที่สวยงาม น่าดู และให้ความสนุกเพลิดเพลินกับการใช้งาน
3) สามารถพิมพ์ผลลัพธ์ที่ปรากฎบนจอได้เหมือนกับที่เห็น (What You See Is What You Get : WYSIWYG)
4) สนับสนุนการใช้เครื่องพิมพ์หลายรุ่น
5) แสดงองค์ประกอบของระบบไม่ว่าจะเป็นช่องหน้าต่าง หรือรายการเมนูเป็นมาตรฐานเดียวกัน จนทำให้แยกไม่ออกว่ากำลังทำงานอยู่เครื่องต่างระบบ หรือทำงานต่างโปรแกรม เป็นต้น
6) มีลักษณะการใช้งานแบบเลือกรายการ เลือกชิ้นวัตถุที่สามารถชี้และเลือกด้วยเมาส์
7) มีระบบที่ติดตั้งได้ง่ายและสามารถปรับเปลี่ยนระบบภายในได้ง่าย
8) สามารถทำงานเข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์รุ่นเก่า
9) สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโปรแกรม